Home ข่าวบันเทิง เหตุผลที่ “บรูซ วิลลิส” อำลาวงการ

เหตุผลที่ “บรูซ วิลลิส” อำลาวงการ

by waetwong
46 views

Keyword หลัก บรูซ วิลลิส

Keyword หลัก โรคอะเฟเซีย

บรูซ วิลลิส

เหตุผลที่ “บรูซ วิลลิส” อำลาวงการ

วอลเตอร์ บรูซ วิลลิส (Walter Bruce Willis) ดาราฮอลลีวูดชื่อดังที่รู้จักกันเป็นอย่างดีจากผลงานภาพยนตร์เรื่อง Die Hard เตรียมยุติอาชีพนักแสดงแล้ว จากสาเหตุมาจากกำลังป่วยโรคอะเฟเซีย (Aphasia) 

จากการแถลงการณ์ร่วมถูกโพสต์ในบัญชีโซเชียลมีเดีย  เอมมา เฮมมิง วิลลิส, รูเมอร์, ทาลูลาห์, มาเบิล และ เอเวลิน วิลสิส ของครอบครัววิลลิสโดยอธิบายว่าบรูซ วิลลิสนักแสดงรุ่นใหญ่ของฮอลลีวู้ด วัย 67 ปี กำลังประสบปัญหาด้านสุขภาพบางอย่างและเพิ่งได้รับการวินิจฉัยว่า มีอาการของโรคอะเฟเซีย ซึ่งจะมีผลต่อกลไกทางการรับรู้ ด้วยผลของโรคและด้วยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ซึ่งทำให้เขาต้องยุติบทบาทการเป็นนักแสดงจากอาชีพที่มีความหมายต่อเขามาก 

โดยมีใจความเขียนสรุปได้ว่า “ถึงแฟน ๆ ที่สนับสนุนและรักบรูซ วิลลิสทุกคน พวกเราในฐานะครอบครัวของบรูซ ต้องแจ้งข่าวให้ทุกคนได้ทราบว่า บรูซ วิลลิสกำลังเผชิญหน้ากับอยู่กับปัญหาทางด้านสุขภาพ โดยเพิ่งได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีความบกพร่องทางสมอง(โรคอะเฟเซีย) ที่ส่งผลต่อการรับรู้และความสามารถในการสื่อสารของบรูซ ด้วยเหตุนี้และด้วยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน ถึงแก่เวลาที่บรูซ วิลลิสจะก้าวออกจากอาชีพนักแสดงที่มีความหมายต่อเขาอย่างมาก นี่เป็นช่วงเวลาที่ท้าทายสำหรับครอบครัวของเราเป็นอย่างมาก เรารู้สึกซาบซึ้งกับความรักและกำลังใจที่ทุกคนส่งมาให้ รวมทั้งแรงสนับสนุนของพวกคุณที่ดีเสมอมา เรากำลังจะก้าวผ่านสิ่งนี้ไปด้วยกันทั้งครอบครัว และเราต้องการให้แฟน ๆ ได้รับรู้และเป็นส่วนหนึ่งกับเหตุการณ์นี้ เพราะพวกคุณมีความหมายสำหรับบรูซ วิลลิส และแฟน ๆ ก็มีความหมายสำหรับสำหรับบรูซ วิลลิสเช่นเดียวกัน อย่างที่บรูซ วิลลิสเคยพูดเสมอว่า ‘จงใช้ชีวิตให้คุ้มซะ’ และตอนนี้เรากำลังวางแผนจะร่วมกันทำเช่นนั้นให้กับเขาในอนาคต”

โรคอะเฟเซีย (Aphasia) คืออะไร

โรคอะเฟเซีย (Aphasia) หรือภาวะบกพร่องทางการสื่อความเป็นความผิดปกติทางการสื่อสาร มักเป็นผลมาจากสมองได้รับความเสียหายจากภาวะเส้นเลือดในสมองแตกหรือการได้รับบาดเจ็บบริเวณศีรษะ ทำให้ผู้ป่วยมีความผิดปกติในด้านทักษะของการสื่อสารและการใช้ภาษา ไม่สามารถโต้ตอบหรือทำความเข้าใจได้ อาจมีปัญหาทางด้านการอ่านและการเขียนร่วมด้วย โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ ได้แก่ 

1. บกพร่องด้านความเข้าใจ 

2. บกพร่องด้านการพูด 

3. บกพร่องในการพูดทวนซ้ำ 

4. บกพร่องทั้งด้านการพูดและการทำความเข้าใจ 

ทั้งหมดนี้สาเหตุและอาการที่แตกต่างกันออกไป สำหรับการรักษาผู้ป่วยจะได้รับการแก้ไขภาวะนี้ด้วยการบำบัดฟื้นฟู การใช้ภาษาและการสื่อสารร่วมด้วย โดยทั่วไปอาการของผู้ป่วยจะค่อย ๆ ได้ผลดีขึ้นหลังทำการบำบัดติดต่อกัน แต่บางรายอาจใช้เวลานานกว่าปกติในการบำบัด โดยจากการศึกษาพบว่าการบำบัดจะได้ผลที่ดีที่สุด เมื่อเริ่มทันทีหลังจากที่ร่างกายและสมองเริ่มฟื้นตัวจากอาการบาดเจ็บจนอยู่ในอาการที่ปลอดภัย ติดตามข่าวใน แวดวงบันเทิง

เรื่องเหมาะกับคุณ

Leave a Comment